การโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อุปโภค-บริโภคจากวัสดุเหลือใช้ที่ได้จากการผลิต ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

การโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อุปโภค-บริโภคจากวัสดุเหลือใช้ที่ได้จากการผลิต

ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

ชมภูนุช เผื่อนพิภพ, ปรัชญา  แพมงคล, มานิตย์ แก้ววงษ์ศิริ และ บุษรา สร้อยระย้า

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง มาศึกษาเป็นผลิตภัณฑ์บริโภค ด้วยการนำน้ำนมรีโพรเซสจากอุตสาหกรรมนม มาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนมผสมน้ำผลไม้แท้ 100% พาสเจอไรส์ โดยสูตรประกอบด้วย นมรีโพรเซส 10% น้ำสับปะรดและน้ำลิ้นจี่ชนิดละ 45 % เพคตินชนิด High-methoxy 0.55% และน้ำตาล 1% พาสเจอร์ไรส์ที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที เก็บที่อุณหภูมิ 6±1 องศาเซลเซียส ได้เป็นเวลา 8 วัน มีโปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.8 กรัม แคลเซียม 21 มิลลิกรัม และให้พลังงาน 65.3 กิโลแคลอรี่/100 มิลลิลิตร และนำกากแครอทที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำผักผลไม้ วิเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ พบว่า มีปริมาณบีตา-แคโรทีน 252.65 ไมโครกรัม/กรัม ซึ่งคิดเป็น 42.37% เมื่อเทียบกับปริมาณบีตา-แคโรทีนในแครอทสด มีความชื้น 3.15% โปรตีน 5.03% ไขมัน 8.07% คาร์โบไฮเดรต 65.12% เถ้า 5.42% เส้นใย 13.21% สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์อุปโภค นำเชือกกระสอบป่านศรนารายณ์ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการมัดห่อเก๊กฮวย มะตูม ของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่ม มาสร้างประดิษฐ์สำหรับตกแต่งบรรจุภัณฑ์

     This research aimed to utilize by-products from small- scale and medium-scale Industries to produce 3 products. The first was formulate pasteurized milk juice beverages (PMJB) consisted of 10%reprocessed milk, 45%pineapple juice, 45%lychee juice, 0.55%HM pectin and 1%sugar. Pasteurization at 72°C 15 s kept at 6±1°C 8 days. PMJB has 2.8%protein, 2.1%fat, 8.8%carbohydrate, 0.021%Ca and 65.3 Kcal. The second product was cracker added ß-carotene from carrot. The chemical specification was 3.15%moisture, 5.03%protein, 8.07%fat, 65.12%carbohydrate, 5.42%ash and 3.15%fibre. The Third product was accessories which use from sisal rope