โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตอาหารจากกล้วย : การพัฒนา พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากกล้วย

โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตอาหารจากกล้วย : การพัฒนาพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากกล้วย

เกศรินทร์  เพ็ชรรัตน์

     ขนมขบเคี้ยวจากแป้งกล้วยที่ดีที่สุดใช้อัตราส่วนจากแป้งกล้วยต่อแป้งสาลี  50 : 30 เปอร์เซ็นต์  โดยน้ำหนัก   ขนมขบเคี้ยวที่เพิ่มอัตราส่วนปรืมาณแป้งกล้วยเพิ่มขึ้นจะมีสีออกเหลือง มีกลิ่นของกล้วย รสออกหวาน และมีความแข็งเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบลดลง จึงเลือกขนมขบเคี้ยวจากแป้งกล้วยที่อัตราส่วนจากแป้งกล้วยต่อแป้งสาลี 50 : 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก เนื่องจากมีคะแนนความชอบเฉลี่ยทุกด้านสุงสุดอยู่ในระดับชอบปานกลาง (7.20) จากนั่นปรุงรสด้วยรสงาดำโดยใช้อัตราส่วนของงาดำ  ต่อนมผง ในผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากแป้งกล้วย  6 : 10 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก  ขนมขบเคี้ยวจากแป้งกล้วยมี มีสีออกเหลืองเทามากขึ้น มีกลิ่นของกล้วยผสมงาดำ มีคะแนนความชอบเฉลี่ยทุกด้านสุงสุดอยู่ในระดับชอบมาก (8.47) จากการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคต่อขนมขบเคี้ยวจากแป้งกล้วยงาดำ  พบว่า ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา มีความถี่ในการรับประทานขนมขบเคี้ยวบ่อยมาก  62 เปอร์เซ็นต์  ผู้บริโภคคิดว่าผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวควรมีรสชาติเค็ม  24 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าขนมขบเคี้ยวที่ผ่านการทอดนั่นจะมีไขมันที่ไม่ดีที่เรียกว่าไขมันทรานส์(Trans Fat) 75 เปอร์เซ็นต์  หากมีขนมขบเคี้ยวไม่ผ่านการทอดจำหน่ายโดยบรรจุถุงฟลอยด์ บรรจุ 40กรัม ราคา 20 บาท    ผู้บริโภคซื้อ  53 เปอร์เซ็นต์ จากการทำการทดสอบคะแนนความชอบผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากแป้งกล้วยที่ไม่ผ่านการทอด  คะแนนความชอบทุกด้านอยู่ในระดับชอบปานกลาง