โครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ข้าวกล้องงอกในผลิตภัณฑ์ขนมหวาน

โครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ข้าวกล้องงอกในผลิตภัณฑ์ขนมหวาน(Application of germinated brown rice in Thai deserts)    

เกศรินทร์  เพ็ชรรัตน์, ชญาภัทร์  กี่อาริโย, นพพร สกุลยืนยงสุข และดวงรัตน์  แซ่ตั้ง

งบประมาณ ปี 2554   จำนวน…. 200,000……..บาท

     โครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ข้าวกล้องงอกในผลิตภัณฑ์ขนมหวานได้ การพัฒนาบัวลอยข้าวกล้องงอกแช่แข็ง ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบบัวลอยข้าวกล้องงอกระดับชอบปานกลางที่อัตราส่วนของข้าวกล้องงอกต่อน้ำในการพรีเจล กับ ปริมาณแป้งข้าวเหนียวในกระบวนการผลิตบัวลอยข้าวกล้องงอก ที่ 2:3  กับปริมาณแป้งข้าวเหนียว 3 ระดับที่  30 กรัม  เมื่อจะรับประทานนำบัวลอยข้าวกล้องงอกแช่แข็ง–18oC  ทำการละลายหลังการแช่แข็งที่ระดับความร้อนของเตาไมโครเวฟ  70  เป็นเวลา 2 นาที เต้าฮวยข้าวกล้องงอก  ศึกษาอัตราส่วนของน้ำข้าวกล้องงอกต่อนมสดในเต้าฮวย โดยศึกษาอัตราส่วนของน้ำข้าวกล้องงอกต่อนมสด จากผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเต้าฮวยข้าวกล้องงอกที่อัตาราส่วนข้าวกล้องงอกต่อนมสด 100 : 0และใช้สารให้ความคงตัวผงวุ้น อยู่ในระดับชอบมาก โดยเต้าฮวยมีลักษณะสีขาวอมเหลืองเล็กน้อยมีความเนียน  ลอดช่องข้าวกล้องงอก ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบลอดช่องข้างกล้องงอก กับปริมาณแป้งข้าวเจ้าที่ร้อยละ  60 โดยใช้ระยะเวลาในการกวนส่วนผสมที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตลอดช่องข้าวกล้อง   30  นาที  จากการศึกษาอายุการเก็บรักษาของขนมหวานพบว่า บัวลอยข้าวกล้องงอกแช่แข็ง และ เต้าฮวยข้าวกล้องงอกมีอายุการเก็บรักษา 4 และ 1เดือนตามลำดับ  ลอดช่องข้าวกล้องงอก  มีอายุการเก็บรักษา 2 สัปดาห์ มีการนำไปเผยแพร่ผ่านการศึกาทางไกลผ่านดาวเทียม สศทท 15