โครงการวิจัยการพัฒนาลูกอมสมุนไพรไทยพื้นบ้าน:ลดการอักเสษและดับกลิ่นปาก

โครงการวิจัยการพัฒนาลูกอมสมุนไพรไทยพื้นบ้าน:ลดการอักเสษและดับกลิ่นปาก

เกศรินทร์  เพ็ชรรัตน์, นพพร สกุลยืนยงสุข, ดวงกมล  ตั้งสถิตพร  และดวงรัตน์  แซ่ตั้ง

งบประมาณ  ปี 2555     จำนวน….73,000…บาท

     ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคและจากการสำรวจตลาดและห้างสรรพสินค้าทำให้ทราบข้อมูลและนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาลูกอมสมุนไพรไทยพื้นบ้าน นำข้อมูลที่ได้รับมาศึกษาปริมาณที่เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์ลูกอมสมุนไพร พบว่า ลูกอมชนิดแข็งแบบผสมเนื้อผลไม้(เนื้อบ๊วย)  ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบสูตร น้ำชะเอมเทศ และกานพลู 20:10 กรัม มากที่สุด ,ลูกอมชนิดแข็งแบบสอดไส้(สอดไส้ซอสมะนาว)  ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบสูตรน้ำเก็กฮวย และขิง 20:15 กรัม มากที่สุด และลูกอมชนิดแข็งแบบม้วน ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบสูตรน้ำใบฝรั่ง และมะตูม 60:40 กรัม มากที่สุด ซึ่งในแต่ละสูตรที่ผู้ทดสอบเลือกนั้นมีคุณลักษณะที่ดีเนื้อละเอียด เนียนคงรูป ไม่เยิ้ม เนื้อค่อนข้างแข็ง มีกลิ่น รสชาติสมุนไพรไม่มีกลิ่นฉุน จากนั้นนำไปทดสอบคุณภาพทางกาย พบว่าลูกอมชนิดแข็งแบบผสมเนื้อผลไม้(เนื้อบ๊วย) : น้ำชะเอมเทศ และกานพลู  สูตร 20:10  กรัม มีสีน้ำตาลเข้มค่อนข้างคล้ำ, ลูกอมชนิดแข็งแบบสอดไส้(สอดไส้ซอสมะนาว) : น้ำเก็กฮวย และขิง  สูตร  20:15 กรัม มีสีออกเหลืองใสมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับลูกอมชนิดแรกที่ได้กล่าวไป  , ลูกอมชนิดแข็งแบบม้วน : น้ำใบฝรั่ง และมะตูม สูตร 60:40 กรัม สีเขียวจากใบฝรั่งและสีเหลืองน้ำตาลจากมะตูม  คุณภาพทางจุลินทรีย์ พบว่า จากการศึกษาอายุการเก็บรักษา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ลูกอมสมุนไพร มีความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ลูกกวาดและทอฟฟี่ (มผช. 265/2547) และการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคพบว่า ผู้บริโภคมีความพอใจในลูกอมสมุนไพรไทยพื้นบ้าน : ลดการอักเสบและดับกลิ่นปากระดับความชอบปานกลาง นำไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโยลรขนมหวาน และเผยแพร่สาธารณะสู่ web page ของสาขาวิทยาศสสตร์การอาหารและโภชนาการ